ความรู้พื้นฐาน

กรอบแนวคิดเศรษฐกิจสีน้ำเงิน
๑. ความรู้พื้นฐานเศรษฐกิจสีน้ำเงิน

        คำว่า “เศรษฐกิจสีน้ำเงิน (Blue Economy)” ได้ถูกนำมาใช้ในหลายเรื่อง และในปัจจุบัน เมื่อกล่าวถึง คำว่า เศรษฐกิจสีน้ำเงิน จะประกอบด้วย ภาคเศรษฐกิจที่หลายหลาย (Range of Economic Sectors) และนโยบายที่เกี่ยวข้อง (Related Policy) ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดให้การใช้ทรัพยากรเป็นไปอย่างยั่งยืน ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ความท้าทายที่สำคัญในการนำแนวคิดเศรษฐกิจสีน้ำเงินไปประยุกต์ใช้ ได้แก่ การสร้างความเข้าใจ และการบริหารจัดการที่ดีในหลายมิติที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืนของทะเล และมหาสมุทร ตั้งแต่ การทำประมงอย่างยั่งยืน ไปจนถึงการคำนึงถึงคุณภาพของระบบนิเวศวิทยา (Ecosystem Health) และมลภาวะที่เกิดขึ้น ทั้งนี้ การบริหารจัดการไปสู่ความยั่งยืนของทรัพยากรทางทะเล และมหาสมุทร จำเป็นที่จะต้องอาศัยความร่วมมือ ในทุกระดับ ตั้งแต่ ในระดับประเทศ (Nation-States) จนถึง ภาครัฐและเอกชน (Public – Private Sector) ในระดับที่สูงกว่าที่เคยดำเนินการมาในอดีต

        แนวคิดเศรษฐกิจสีน้ำเงิน เป็นการส่งเสริมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การรวมกันของภาคสังคม (Social Inclusion) การอนุรักษ์ และการพัฒนาความเป็นอยู่ ในขณะที่รับประกันความยั่งยืนของสภาพแวดล้อมทางทะเล และมหาสมุทร รวมทั้ง พื้นที่ชายฝั่ง ทั้งนี้ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา กิจกรรมต่างๆ ได้ถูกดำเนินไป โดยมิได้มีการประสานสอดคล้องกัน ระหว่างการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคม ผ่านการประกอบกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับทะเลและมหาสมุทร และการพิจารณาถึงความเสื่อมโทรมของสภาพแวดล้อม และระบบนิเวศ จากการค้นพบข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ทำให้ทราบว่า ทรัพยากรทางทะเล มีจำนวนที่จำกัด และหากทรัพยากรดังกล่าว เสื่อมโทรม และมิได้รับการดูแลรักษาที่ดี ย่อมส่งกระทบต่อความเป็นอยู่ของมนุษย์ และสังคมอย่างหลีกเลี่ยงมิได้ โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาถึงการเจริญเติบของจำนวนประชากรที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต ด้วยเหตุดังกล่าว จึงมี ความจำเป็นที่จะต้องให้ความสำคัญกับแนวคิดดังกล่าว

๒. ประเภทและสาขาของเศรษฐกิจสีน้ำเงิน

        เศรษฐกิจสีน้ำเงิน (Blue Economy) ประกอบไปด้วยสาขาที่มีความหลากหลาย ตั้งแต่ อุตสาหกรรมทางทะเลในรูปแบบดั้งเดิม เช่น การประมง การท่องเที่ยว และการขนส่งทางทะเล ไปจนถึง กิจกรรมทางทะเล ที่เกิดขึ้นใหม่ (Emerging Activities) เช่น การหาพลังงานทดแทนจากพื้นที่ไกลฝั่ง (Offshore Renewable Energy) การเพาะเลี้ยงพืช และสัตว์ในน้ำ (Aquaculture) กิจกรรมสกัดแร่ธาตุจากพื้นดินใต้ท้องทะเล (Seabed Extractive Activities) เทคโนโลยีชีววิทยาทางทะเล (Marine Biotechnology) และการตรวจทางชีวภาพ ทางทะเล (Marine Bioprospecting) โดยกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจสีน้ำเงิน อาจจะเป็นกิจกรรมทางทะเล ที่รวมหลายสาขา หรือกิจกรรมหลายประเภทเข้าด้วยกัน และอาจจะมีการพัฒนาเพิ่มเติมกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจสีน้ำเงินได้ในอนาคต โดยขึ้นอยู่กับสถานการณ์ และสภาพแวดล้อมของประเทศต่างๆ อย่างไรก็ตาม องค์การสหประชาติ (United Nations) ได้จัดแบ่งสาขา และประเภทของกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจสีน้ำเงินในภาพรวม โดยมีรายละเอียด ดังนี้

ประเภทของกิจกรรม การแบ่งประเภทกิจกรรมย่อย อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง/สาขา ปัจจัยขับเคลื่อนให้เกิดการเจริญเติบโตในสาขา
การเก็บเกี่ยว และการค้าทางทะเลของทรัพยากรที่มีชีวิต การนำมาทำเป็นอาหาร การทำประมง (ผลผลิตจากปลาในระดับปฐมภูมิ เช่น การนำมาบริโภค) ความต้องการอาหารและสารอาหาร โดยเฉพาะ โปรตีน
การทำประมงทุติยภูมิ (กระบวนการผลิต การทำอุปกรณ์เพื่อแปรรูป การต่อเรือ ภาคการผลิตของอุปกรณ์ในการแปรรูปปลาทะเล และการบรรจุหีบห่อและกระจายสินค้าที่เกี่ยวกับการประมง เป็นต้น) ความต้องการอาหารและสารอาหาร โดยเฉพาะ โปรตีน
การค้าขายผลิตภัณฑ์อาหารทะเล (ที่รับประทานได้) ความต้องการอาหารและสารอาหาร โดยเฉพาะ โปรตีน
การค้าขายผลิตภัณฑ์อาหารทะเล (ที่รับประทานไม่ได้) ความต้องการเครื่องสำอาง สัตว์น้ำ และผลิตภัณฑ์เภสัชกรรม
การเพาะเลี้ยงพืชและสัตว์ในน้ำ ความต้องการเครื่องสำอาง สัตว์น้ำ และผลิตภัณฑ์เภสัชกรรม
การใช้ทรัพยากรที่มีชีวิตทางทะเล สำหรับ ผลิตภัณฑ์เภสัชกรรม และการประยุกต์ใช้สารเคมีต่างๆ เทคโนโลยีชีววิทยาทางทะเล และการตรวจทางชีวภาพทางทะเล การวิจัยและพัฒนาสำหรับด้านการดูแลสุขภาพ เครื่องสำอาง เอมไซม์ โภชนาการ และอุตสาหกรรมอื่นๆ
การสกัดและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่ไม่มีชีวิต การสกัดแร่ธาตุ แร่ธาตุใต้ท้องทะเล ความต้องการแร่ธาตุ
การแสวงหาแหล่งพลังงาน น้ำมันและก๊าซ ความต้องการพลังงาน
การผลิตน้ำจืด การสกัดความเค็มออกจากน้ำทะเล ความต้องการน้ำจืด
การใช้พลังงานจากธรรมชาติที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ และไม่มีวันหมด (พลังงานลม น้ำ คลื่น และอื่นๆ) การผลิตพลังงานไกลฝั่งที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ การนำกลับมาใช้ใหม่ ความต้องการแหล่งพลังงาน
ธุรกิจและการค้าที่เกี่ยวข้องกับมหาสมุทร การขนส่งและการค้า การขนส่งสินค้าทางทะเลและการต่อเรือ การเจริญเติบโตของภาคการค้าทางทะเล ความต้องการการเดินทาง และระเบียบระหว่างประเทศ รวมทั้ง อุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับการขนส่งทางทะเล (การต่อเรือ การแยกชิ้นส่วนโลหะ พาณิชย์นาวี การลงทะเบียน การบริหารจัดการท่าเรือ และอื่น)
การเดินทางในทะเล
ท่าเรือ และการบริการที่เกี่ยวข้อง
การพัฒนาชายฝั่ง กระทรวงและหน่วยงานที่วางแผนในระดับนโยบาย และภาคเอกชน การขยายตัวของชุมชนเมืองบริเวณชายฝั่ง และข้อบังคับที่เกิดขึ้นในระดับสากล
การท่องเที่ยว และการพักผ่อน หน่วยงานที่รับผิดชอบเรื่องการท่องเที่ยวในระดับประเทศ และภาคเอกชน และภาคอื่นๆที่เกี่ยวข้อง การเจริญเติบโตของภาคการท่องเที่ยวในระดับโลก
การสนับสนุนทางอ้อมต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม การกักเก็บคาร์บอน คาร์บอนสีน้ำเงิน (Blue Carbon) การลดปัญหาสภาพภูมิอากาศ
การป้องกันชายฝั่งทะเล การป้องกันที่อยู่อาศัยบริเวณชายฝั่ง และการฟื้นฟู การเติบโตไปพร้อมกับความสามารถในการฟื้นตัวต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง (Resilient Growth)
การกำจัดขยะสำหรับอุตสาหกรรมบนฝั่ง การดูดซึมสารอาหาร และขยะมูลฝอย การบริหารจัดการขยะ
การดำรงอยู่ของความหลากหลายทางชีวภาพ การป้องกันสายพันธ์ (Species) และที่อยู่อาศัย การอนุรักษ์
๓. ปัจจัยที่ทำให้แนวคิดเศรษฐกิจประสบความสำเร็จ

        เศรษฐกิจสีน้ำเงิน มีเป้าหมายที่เกินไปกว่าการให้ความสำคัญกับการมุ่งทำธุรกิจแต่เพียงอย่างเดียว โดยมีส่วนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจ และคุณภาพของมหาสมุทร (Ocean Health) ไปพร้อมๆ กัน โดยแนวคิดดังกล่าว จะประสบความสำเร็จได้นั้น จำเป็นที่จะต้องใช้ยุทธศาสตร์ในระยะยาวเข้ามาช่วย ในการดำเนินการ โดยมีเป้าหมายที่สนับสนุนเพื่อให้เกิดความยั่งยืน และการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่าง เท่าเทียมกัน ผ่านกิจกรรม และภาคสาขาที่เกี่ยวข้องกับทางทะเลและมหาสมุทร ทั้งนี้ เศรษฐกิจสีน้ำเงิน จะเกี่ยวข้องกับทุกประเทศ และจะต้องถูกนำมาประยุกต์ใช้ในหลายระดับ ตั้งแต่ในระดับท้องถิ่น จนถึงระดับโลก โดยจะต้องใช้ความไว้วางใจ และฐานความรู้ที่หลากลาย อีกทั้ง จะต้องใช้การบริหารจัดการและการพัฒนาทรัพยากรที่มีส่วนช่วยในการสร้างแรงบันดาลใจ และสนับสนุนให้เกิดนวัตกรรมขึ้น